กองทุนฯ เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทไฟฟ้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการเข้าลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพ และนําทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวออก จัดหาประโยชน์เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน โดยในการลงทุนครั้งแรกนี้จะมุ่งเน้นการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทไฟฟ้า โดยพิจารณาและประเมินศักยภาพการสร้างรายได้ที่มั่นคงและต่อเนื่องของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนนั้น เพื่อให้การลงทุนของกองทุนฯ ในทรัพย์สินของกองทุนฯ เป็นไปตามเป้าหมายหลัก

ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ภายหลังการเสนอขายครั้งแรก กองทุนฯ จะเข้าลงทุนในสิทธิในรายได้สุทธิฯ ตามสัญญาโอนสิทธิรายได้สุทธิฯ โดยพิจารณาจากจุดเด่นของการลงทุนทรัพย์สินดังกล่าว ดังต่อไปนี้

รายได้หลักจากการประกอบกิจการไฟฟ้าของ BEC และ BPC มาจากการขายไฟฟ้าให้แก่กฟภ. และการขายไอน้ำให้แก่ BSF โดยจากประมาณการงบกําไรขาดทุนและการปันส่วนแบ่งกําไรตามสมมติฐานสําหรับปีตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2561 รายได้จากการขายไฟฟ้าให้ กฟภ. และรายได้จากการขายไอน้ำให้แก่ BSF คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 74 และ ร้อยละ 26 ของรายได้รวม จากการประกอบกิจการไฟฟ้า ตามลําดับ

วัตถุดิบหลักของโรงไฟฟ้า ได้แก่ก ากอ้อย น้ำ RO และน้ำ Condensate ซึ่ง BEC และ BPC จะเข้าทําสัญญาซื้อขายกากอ้อย น้ำ RO และน้ำ Condensate กับ BSF โดยมีระยะเวลาของสัญญาสอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาโอนสิทธิรายได้สุทธิฯ ซึ่งจะช่วยให้โรงไฟฟ้ามีแหล่งวัตถุดิบที่แน่นอนและเชื่อถือได้ ในกรณีที่ BSF ไม่สามารถจัดหากากอ้อยที่มีคุณสมบัติตามสัญญาได้ครบตามปริมาณที่กําหนด โดยไม่ได้มีสาเหตุจากเหตุการณ์พิเศษตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายวัตถุดิบชีวมวล BSF ตกลงจะจัดหาวัตถุดิบชีวมวลทดแทนอื่นให้เท่ากับปริมาณกากอ้อยที่ขาดไป ในราคาที่กําหนดภายใต้สัญญาโอนสิทธิรายได้สุทธิฯ หรือในกรณีที่ BSF ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบทดแทนได้ BSF ตกลงจะชําระค่าปรับเป็นจํานวน 2 เท่าของมูลค่ากากอ้อย (รวมถึงวัตถุดิบชีวมวลทดแทน) ที่ขาดไป

โรงไฟฟ้ามีรายได้หลักจากการจําหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. และการจําหน่ายไอน้ำให้กับ BSF

BRR มีความตั้งใจจะถือหน่วยลงทุนของกองทุนฯ เป็นจํานวนไม่เกินหนึ่งในสาม (หรือประมาณร้อยละ 33.33) โดยตามข้อตกลงกระทําการ BRR จะถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนฯ ณ เวลาใดๆ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปีนับตั้งแต่วันที่กองทุนฯ เข้าลงทุนสำเร็จ

ทั้งนี้การที่ BRR ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มน้ําตาลบุรีรัมย์เข้ามามีส่วนได้เสียโดยการถือหน่วยลงทุนของกองทุนฯ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่ากลุ่มน้ําตาลบุรีรัมย์จะบริหารจัดการโรงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องเพื่อสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอให้แก่กองทุนฯ ตามแผนงาน

BRR และ/หรือ บริษัทย่อยของ BRR มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยมีการควบคุมและประเมินด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าชีวมวลของ BEC และ BPC มีระบบการควบคุมมลสารทางอากาศ การควบคุมระดับเสียง การจัดการน้ำทิ้ง การกําจัดกากของเสีย และมีพื้นที่สีเขียวในบริเวณโครงการโรงไฟฟ้าประมาณ 25 ไร่ อีกทั้ง น้ำทิ้งบางส่วนสามารถนํากลับมาวนใช้ประโยชน์ใหม่ได้

โดยในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา BEC และ BPC ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 และได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากวัตถุดิบชีวมวล